“พวงหรีด” ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอาลัยในงานศพมายาวนาน แต่น้อยคนนักที่จะทราบถึงประวัติพวงหรีดว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใด เกิดขึ้นเมื่อใด เริ่มเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร และเหตุใดจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายกันมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน วันนี้เลอหรีดจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติพวงหรีดให้ทุกคนฟังกันค่ะ
ต้นกำเนิดของพวงหรีด
ก่อนที่จะนำพวงหรีดมาใช้ในพิธีงานศพนั้น แท้จริงแล้วประวัติพวงหรีดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศทางแถบทวีปยุโรปตอนใต้ในสมัยอารยธรรมอีทรัสคัน เมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งตามประวัติพวงหรีดได้ปรากฏหลักฐานว่ามีการค้นพบมงกุฎทองสำหรับมอบให้แก่นักรบ เพื่อใช้เป็นเกียรติยศสำหรับนักรบเมื่อเวลาออกรบค่ะ โดยจะแกะสลักเป็นลายใบไม้กับดอกไม้และตกแต่งให้มีความสวยงาม พอเข้าสู่ในช่วงยุคโรมันโบราณก็จะมีการนำหรีดมาประดับศีรษะ เรียกว่า “Laurel Wreath” (ลอเรลหรีธ) ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำใบไม้มาสานกัน ต่อมาเมื่อเข้าสู่ในช่วงศตวรรษที่ 16 – 19 ชาวคริสเตียนได้มีการนำกระดาษและริบบิ้นมาทำเป็นพวงหรีดกระดาษ โดยตัดและตกแต่งเป็นรูปใบไม้กับดอกไม้ เพื่อใช้สำหรับเฉลิมฉลองในงานเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (Advent) แต่ใช้ได้ไม่นานก็เปลี่ยนมาใช้ดอกไม้จริงแทน เนื่องจากมีความสวยงามมากกว่า ซึ่งพวงหรีดที่ว่านี้จะมีลักษณะเป็นทรงกลมประดับด้วยดอกไม้สดนานาชนิด คล้ายกับพวงหรีดดอกไม้สด แต่จะมีขนาดเล็กกว่าพวงหรีดที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อตกแต่งพวงหรีดเสร็จก็จะนำไปประดับหรือแขวนไว้ในโบสถ์อย่างสวยงามค่ะ และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ทุกสิ่งก็เปลี่ยนแปลงตาม ไม่เว้นแม้แต่พวงหรีดที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์หรือสิ่งที่ใช้แสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ล่วงลับที่นำมามอบให้แก่ครอบครัวหรือญาติของผู้เสียชีวิตในงานศพมากขึ้นอย่างที่เห็นกันอยู่จนถึงปัจจุบัน
ประวัติพวงหรีดในประเทศไทย
กว่าที่พวงหรีดจะกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความอาลัยยอดนิยมในประเทศไทยนั้น ตามประวัติพวงหรีดได้กล่าวไว้ว่าอารยธรรมของชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทและแพร่หลายเป็นอย่างมากในยุคล่าอาณานิคม หรือในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้รับเอาอารยธรรมตะวันตกหลายอย่างเข้ามาในประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่พวงหรีดค่ะ โดยมีหลักฐานว่ามีการค้นพบภาพถ่ายของการนำดอกไม้นานาชนิดมาจัดแต่งเป็นวงกลม ลักษณะคล้ายกับพวงหรีดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2447 ในงานพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั่นเองค่ะ ซึ่งในช่วงแรกนั้นพวงหรีดจะได้รับความนิยมเฉพาะในสังคมชนชั้นสูงเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานก็เริ่มมีการแพร่หลายในชนชั้นกลาง ไปจนถึงบุคคลทั่วไป โดยวัตถุประสงค์ของการมอบพวงหรีดนั้นก็เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและความอาลัยต่อผู้วายชนม์ และด้วยประวัติพวงหรีดที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้เองทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าในสมัยนั้นพวงหรีดได้ถูกนำเข้ามาใช้เป็นสื่อแทนความอาลัยในประเทศไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมาค่ะ
ความนิยมและการแพร่หลายของพวงหรีด
ตามประวัติพวงหรีดในประเทศไทยที่ได้กล่าวถึงไปเมื่อข้างต้นนี้ทำให้เห็นว่าพวงหรีดได้เริ่มมีการนำมาใช้เฉพาะในงานศพของเจ้านายและชนชั้นสูง จนกระทั่งต่อมาก็ได้มีการแพร่หลายกันมากขึ้นในชนชั้นกลางไปจนถึงคนทั่วไปค่ะ ซึ่งพวงหรีดนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ความสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีสัจธรรมแห่งชีวิตที่เตือนใจมนุษย์ทุกคนอีกด้วยค่ะว่า เมื่อเวลาหมุนผ่านไป ดอกไม้สดที่เคยมีสีสันสวยงามก็เริ่มเปลี่ยนสี เหี่ยวเฉา และร่วงโรยไปตามกาลเวลา เปรียบได้กับชีวิตของมนุษย์เราที่ไม่ยั่งยืน ทุกคนต่างล้วนมีการเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดานั่นเองค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นดอกไม้ประดับพวงหรีดยังสามารถสื่อแทนความหมาย อารมณ์และความรู้สึกถึงผู้ล่วงลับได้มากเลยทีเดียวค่ะ ทำให้พวงหรีดกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการแสดงความอาลัยในงานศพที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าหากมีงานศพครั้งใดเป็นต้องมีพวงหรีดไว้สื่อแทนความอาลัยที่มีต่อผู้ล่วงลับทุกครั้งไปค่ะ โดยในทุกวันนี้พวงหรีดก็ได้มีพัฒนาการมากขึ้นจนมีประเภทพวงหรีดให้เลือกซื้ออย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพวงหรีดดอกไม้สดที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน, พวงหรีดผ้า หรือจะเป็นพวงหรีดทางเลือกประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น พวงหรีดพัดลม, พวงหรีดนาฬิกา และพวงหรีดต้นไม้ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีศพก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือจะนำไปบริจาคก็ได้เช่นกันค่ะ นอกจากนั้นพวงหรีดแต่ละประเภทก็ยังมีโทนสีพวงหรีดต่าง ๆ ให้เลือกมากมายตามความเหมาะสมของผู้ล่วงลับอีกด้วยนะคะ
เมื่อทราบเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติพวงหรีดว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใด ตั้งแต่เมื่อไร และเหตุใดจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันล่ะก็หายสงสัยกันแล้วใช่มั้ยล่ะคะ ทีนี้หากมีงานศพครั้งใด อย่าลืมมาเลือกซื้อพวงหรีดที่ร้านเลอหรีดของเรานะคะ เพราะนอกจากจะมีพวงหรีดคุณภาพดีแล้วยังมีบริการจัดส่งฟรีถึงศาลาวัดอีกด้วยค่ะ
เรียบเรียงข้อมูลโดย: Le Wreath ผู้ให้บริการ พวงหรีดออนไลน์