มูลนิธิชัยพัฒนา
พระองค์ท่านได้มีพระราชดำริจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการช่วยสนับสนุน ส่งเสริม ประสานงาน ให้โครงการของภาครัฐที่มีอยู่แล้วดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อโครงการภาครัฐที่ถูกจำกัดด้วยระเบียบต่าง ๆ จนดำเนินการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างล่าช้า
ตัวโครงการชัยพัฒนานี้ก่อตั้งขึ้นในเมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยมีพระองค์ท่านพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนแรกเริ่ม และมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิ จนถึงทุกวันนี้มูลนิธิชัยพัฒนาก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธามากมาย ๆ
มูลนิธิโครงการหลวง
โครงการหลวงดำเนินขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยพระองค์ได้พระราชทานเงินกว่า 2 แสนบาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดหาที่ดินทดลองวิจัยพืชผลไม้เมืองหนาว เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของชาวเขาดอยปุย ให้หันมาปลูกพืชถูกกฎหมายที่สามารถทำรายได้ทัดเทียมกับการปลูกฝิ่นแบบเดิม ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือชาวเขาแล้ว ยังช่วยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยลดการปลูกฝิ่นอีกด้วย[vc_single_image image=”12324″ img_size=”full” add_caption=”yes” alignment=”center”]
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
พระองค์ได้จัดตั้งโครงการนี้เพื่อสนับสนุนหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ควบคู่กับการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ตลอดจนส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า และลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ที่ได้ประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างดียิ่ง
โครงการแก้มลิง
ประเทศไทยมักประสบปัญหาอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง จึงต้องมีการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งพระองค์ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้มีพระราชดำริจัดทำโครงการแก้มลิงขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ด้วยการสร้างพื้นที่เก็บกักน้ำ กระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร รองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว ลดปัญหาน้ำท่วม คล้ายกับพฤติกรรมของลิงที่เก็บอาหารไว้ที่กระพุ้งแก้ม[vc_single_image image=”12325″ img_size=”full” add_caption=”yes” alignment=”center”]
โครงการฝนหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงปัญหาภัยแล้งในพื้นที่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้มีพระราชดำริคิดค้นทำฝนหลวงขึ้น โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปล่อยสารให้ก้อนเมฆรวมตัวกัน จนกลั่นตัวเป็นหยดน้ำฝน ตกลงมาเพื่อบรรเทาภัยแล้งให้แก่ราษฎร
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการศึกษาของเยาวชน จึงได้มีพระราชดำริสร้างหนังสือสารานุกรมฉบับใหม่ ที่รวบรวมวิชาการแขนงต่าง ๆ เผยแพร่ให้แก่เยาวชน ซึ่งเป็นการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้นอกเหนือตำราเรียนจนสามารถนำความรู้ไปใช้ต่อการดำรงชีพ[vc_single_image image=”12321″ img_size=”full” add_caption=”yes” alignment=”center”]
โครงการแกล้งดิน
จากการที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาดินเปรี้ยว และดินเป็นกรด พระองค์จึงมีพระราชดำริแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่เพาะปลูก ปล่อยให้ดินเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนเปรี้ยวจัด จากนั้นจึงระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินใหม่ด้วยปูนขาว ให้ดินกลับมามีสภาพเหมาะสมต่อการเพาะปลูกได้
กังหันน้ำชัยพัฒนา
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นว่ามีพื้นที่สภาพน้ำเน่าเสียหลายแห่ง จึงได้คิดค้นกังหันน้ำชัยพัฒนา ด้วยการใช้หลักเติมอากาศให้กับน้ำ ปรับสภาพน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี พร้อมกับน้ำมาใช้ปรับสภาพน้ำทุกพื้นที่และได้ผลจริง[vc_single_image image=”12322″ img_size=”full” add_caption=”yes” alignment=”center”]
หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ดำเนินขึ้นเพื่อปฏิรูปการเกษตร โดยแบ่งพื้นที่เกษตรออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ขุดเป็นสระน้ำ 30%, ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%, ปลูกผักผลไม้ ไม้ยืนต้น 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10% เพื่อเป็นการปลูกพืชหลากหลายให้สามารถหมุนเวียนเพาะปลูกเพื่อจำหน่ายได้อย่างยืดหยุ่น ตลอดจนนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มพูนรายได้ในลำดับต่อไป
จากตัวอย่างพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ทำมานั้น ล้วนต่อจัดทำเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทยทั้งสิ้น แม้ว่าในวันนี้พระองค์จะเสด็จสวรรคตแล้ว แต่ชาวไทยทุกคนพร้อมที่จะดำเนินตามรอยพระยุคลบาท ร่วมมือกันพัฒนาประเทศชาติต่อไป