ข้อปฏิบัติเวลาไปงานศพ
พิธีรดน้ำศพ
ก่อนที่จะนำศพใส่โลงมักจะมีพิธีรดน้ำศพ ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพ เพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไป เมื่อท่านไปถึงในพิธีควรจะทักทายและแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพ จากนั้นจึงนั่งรอในที่จัดเตรียมไว้ เจ้าภาพจึงจะเชิญท่านไปรดน้ำยังบริเวณที่ตั้งศพ จากนั้นท่านจึงทำความเคารพศพและเทน้ำอบที่เจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือและอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับค่ะ
ก่อนที่จะนำศพใส่โลงมักจะมีพิธีรดน้ำศพ ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพ เพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไป เมื่อท่านไปถึงในพิธีควรจะทักทายและแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพ จากนั้นจึงนั่งรอในที่จัดเตรียมไว้ เจ้าภาพจึงจะเชิญท่านไปรดน้ำยังบริเวณที่ตั้งศพ จากนั้นท่านจึงทำความเคารพศพและเทน้ำอบที่เจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือและอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับค่ะ
พิธีสวดอภิธรรม
งานสวดอภิธรรมหรืองานสวดศพ จัดขึ้นเพื่ออุทิศบุญส่วนกุศล รวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ ด้วยการเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ส่วนใหญ่มักจัดเป็นงานบุญ 7 วันในตอนกลางคืน
ในส่วนนี้เองที่มักมีการส่งพวงหรีดไปร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยอาจเลือกพวงหรีดที่สวยงามสามารถย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุธรรมชาติหรือพวงหรีดผ้าที่มีการจัดเตรียมอย่างสวยงามไม่แพ้พวงหรีดดอกไม้สด รวมถึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ดังตัวอย่าง พวงหรีดผ้า ซึ่งการติดตั้งพวงหรีดไม่ควรติดตั้งเอง ควรส่งให้กับเจ้าภาพหรือผู้ที่ดูแลนำไปติดตั้งค่ะ
เมื่อเข้ามาในศาลาที่ตั้งโลงศพ ควรกราบพระก่อนด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุดธูป 1 ดอกเพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม เช่น
- หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ให้กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
- หากผู้ตายเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้กราบเบญจางคประดิษฐ์
- หากผู้ตายอยู่ในวัยเดียวกัน ให้ยืนคำนับหรือนั่งไหว้
- หากผู้ตายเป็นผู้น้อยหรืออายุน้อยกว่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าสงบ
หลังจากที่การสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไป ด้วยพิธีทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นเป็นการกรวดน้ำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ จึงจบพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืนค่ะ
งานสวดอภิธรรมหรืองานสวดศพ จัดขึ้นเพื่ออุทิศบุญส่วนกุศล รวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ ด้วยการเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ส่วนใหญ่มักจัดเป็นงานบุญ 7 วันในตอนกลางคืน
ในส่วนนี้เองที่มักมีการส่งพวงหรีดไปร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยอาจเลือกพวงหรีดที่สวยงามสามารถย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุธรรมชาติหรือพวงหรีดผ้าที่มีการจัดเตรียมอย่างสวยงามไม่แพ้พวงหรีดดอกไม้สด รวมถึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ดังตัวอย่าง พวงหรีดผ้า ซึ่งการติดตั้งพวงหรีดไม่ควรติดตั้งเอง ควรส่งให้กับเจ้าภาพหรือผู้ที่ดูแลนำไปติดตั้งค่ะ
เมื่อเข้ามาในศาลาที่ตั้งโลงศพ ควรกราบพระก่อนด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุดธูป 1 ดอกเพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม เช่น
- หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ให้กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
- หากผู้ตายเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้กราบเบญจางคประดิษฐ์
- หากผู้ตายอยู่ในวัยเดียวกัน ให้ยืนคำนับหรือนั่งไหว้
- หากผู้ตายเป็นผู้น้อยหรืออายุน้อยกว่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าสงบ
หลังจากที่การสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไป ด้วยพิธีทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นเป็นการกรวดน้ำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ จึงจบพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืนค่ะ
พิธีฌาปนกิจ
นับเป็นพิธีกล่าวอำลาในครั้งสุดท้ายกับผู้ที่ล่วงลับ ในตอนเช้าของพิธีมักจะให้ญาติหรือลูกหลานช่วยกันหามโลงศพเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย โดยวนซ้ายของเมรุจำนวน 3 รอบ เนื่องจากเป็นการเปรียบเหมือนการเวียนว่ายตายเกิดในสามภพ คือ โลก นรก และสวรรค์
ก่อนจะทำพิธีฌาปนกิจจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้ล่วงลับ เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต จึงทำการทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นเจ้าภาพในงานจึงจะรับเชิญให้เริ่มพิธี โดยให้ท่านนำธูปเทียนสำหรับขอขมาศพและดอกไม้จันทน์ค่อย ๆ เดินตามขึ้นเมรุเผา จากนั้นนำดอกไม้จันทน์วางที่ใต้เชิงตะกอนสำหรับจุดไฟ หรือนำดอกไม้จันทน์ และธูปเทียนวางหน้าพานศพ อาจไหว้เคารพหรือกล่าวขอขมาในใจก่อนค่อยวางดอกไม้จันทน์และธูปเทียนลง แล้วจึงเดินลงบันไดอีกข้างหนึ่ง เพราะหากเดินย้อนกลับไปทางที่ขึ้นมาจะทำให้ขวางทางเดินผู้อื่นได้ค่ะ
การเตรียมพร้อมสำหรับไปงานศพด้วยขั้นตอนในแต่ละพิธีจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่มั้ยคะ โดยอย่าลืมว่าเราควรอยู่ในความสำรวมทุกขั้นตอนเพื่อให้เกียรติเจ้าภาพและผู้ที่ล่วงลับ ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อปฏิบัติข้างต้นเป็นเพียงมารยาททั่วไปเท่านั้น ส่วนหนึ่งเราต้องดูความเหมาะสมในแต่ละธรรมเนียมของที่นั้น ๆ ดังคำที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ร่วมด้วยนะคะ
นับเป็นพิธีกล่าวอำลาในครั้งสุดท้ายกับผู้ที่ล่วงลับ ในตอนเช้าของพิธีมักจะให้ญาติหรือลูกหลานช่วยกันหามโลงศพเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย โดยวนซ้ายของเมรุจำนวน 3 รอบ เนื่องจากเป็นการเปรียบเหมือนการเวียนว่ายตายเกิดในสามภพ คือ โลก นรก และสวรรค์
ก่อนจะทำพิธีฌาปนกิจจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้ล่วงลับ เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต จึงทำการทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นเจ้าภาพในงานจึงจะรับเชิญให้เริ่มพิธี โดยให้ท่านนำธูปเทียนสำหรับขอขมาศพและดอกไม้จันทน์ค่อย ๆ เดินตามขึ้นเมรุเผา จากนั้นนำดอกไม้จันทน์วางที่ใต้เชิงตะกอนสำหรับจุดไฟ หรือนำดอกไม้จันทน์ และธูปเทียนวางหน้าพานศพ อาจไหว้เคารพหรือกล่าวขอขมาในใจก่อนค่อยวางดอกไม้จันทน์และธูปเทียนลง แล้วจึงเดินลงบันไดอีกข้างหนึ่ง เพราะหากเดินย้อนกลับไปทางที่ขึ้นมาจะทำให้ขวางทางเดินผู้อื่นได้ค่ะ
การเตรียมพร้อมสำหรับไปงานศพด้วยขั้นตอนในแต่ละพิธีจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่มั้ยคะ โดยอย่าลืมว่าเราควรอยู่ในความสำรวมทุกขั้นตอนเพื่อให้เกียรติเจ้าภาพและผู้ที่ล่วงลับ ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อปฏิบัติข้างต้นเป็นเพียงมารยาททั่วไปเท่านั้น ส่วนหนึ่งเราต้องดูความเหมาะสมในแต่ละธรรมเนียมของที่นั้น ๆ ดังคำที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ร่วมด้วยนะคะ